“เมลามีน” มีสารฟอร์มาลดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน เป็นส่วนประกอบ ซึ่งใช้ผลิตพลาสติก เช่น จานเมลามีน ถุงพลาสติก พลาสติกห่ออาหาร และ ยังใช้ในอุตสาหกรรมเม็ดสี ทำเป็นหมึกพิมพ์ สีเหลือง รวมทั้งนำไปใช้ทำน้ำยาดับเพลิง น้ำยาทำความสะอาด ปุ๋ยเคมี ส่วนผสมอาหารสัตว์ เพราะโครงสร้างเมลามีนมี ไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบสูงมาก
คุณสมบัติของเมลามีน มีลักษณะเป็น เมตาโบไลท์ ของ ไซโรมาซีน (Cyromazine) ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง เมื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและพืชได้รับเข้าไปจะสามารถเปลี่ยนเป็นเมลามีนได้ มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบถึง 66.67% คิดเป็นปริมาณโปรตีนได้ 416.66% จัดอยู่ในพวก Non-Protein Nitrogen (NPN) ของสัตว์กระเพาะรวม เช่น โค กระบือ สุกร แกะ แพะ แต่ไม่นิยมใช้ เพราะทำให้ กระบวนการย่อยสลาย (Hydrolysis) ช้าและไม่สมบูรณ์เหมือนพวก “ยูเรีย”
“เมลามีน” มีลักษณะเป็นผงสีขาว มีสูตรโครงสร้างทางเคมีว่า C3H6 N6 (1,3,5 Triazine 2,4,6 Triamine) ละลายน้ำได้น้อย ปกติมัก จะนำเมลามีนคุณภาพดีไปทำเม็ดพลาสติกเรียกว่า “เม็ดเลซินเมลามีน” ส่วนเศษที่เหลือที่คุณภาพเลวจะนำไปทำของใช้ ซึ่งเมลามีนประเภทนี้มีราคาถูก และส่งผลให้เกิดอนุพันธ์เมลามีนขึ้นหลายชนิด เรียกว่า เมลามีนอันนาล็อก ประกอบด้วย ammeline, ammelide และ cyanuric acid แม้จะเป็นอนุพันธ์ของเมลามีนแต่ก็ยังมีโปรตีนสูงถึง 224.36%
อันตรายของสารเมลามีน ในคนจะทำให้เกิดการระคายเคืองเมื่อสูดดม ทำให้ตาและผิวหนังอักเสบ ซึ่งหากเกิดอาการที่ผิวหนังควรล้างด้วยน้ำสะอาด ถ้ามีอาการแพ้ให้ทาด้วยยาสเตียรอยด์ ชนิดไม่แรงมากนัก หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปปรึกษาแพทย์ และเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ถูกทำลาย เกิดนิ่วในท่อปัสสาวะและไต ลุกลามเป็นมะเร็งที่ท่อปัสสาวะ ข้อสังเกตคือ ปัสสาวะมีสีขาวขุ่น เพราะมีโปรตีนและเลือดถูกขับออกมาด้วย ส่งผลให้ตับและไตมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หากสะสมในปริมาณมากอาจเสียชีวิตได้ ถ้าในสัตว์เลี้ยงจะทำให้ซูบผอม อุจจาระแข็งเป็นเม็ด ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นไหม้รุนแรง พื้นคอกสีขาว ผิวหนังเป็นมะเร็ง หากมีปริมาณมาก ๆ จะทำให้ตายเฉียบพลัน เพราะไตวาย
Source : www.dailynews.co.th
อาหารไทย | สูตรอาหารไทย | วิธีทำอาหารไทย | สูตรขนมไทย | สูตรขนมหวานไทย | ขนมหวาน | ขนมหวานไทย | เคล็ดลับคู่ครัว
© 2007 EzyThaiCooking.com All rights reserved .